วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การเต้นแท็ป





การเต้นแท็ป หรือ แท็ปแดนซ์ (Tap dance) เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก ชื่อของการเต้นรำชนิดนี้เกิดมาจากเสียง "แท็ป แท็ป" จากแผ่นเหล็กภายใต้รองเท้าเต้นสัมผัสกับพื้น การเต้นรำชนิดนี้ไม่เพียงแต่ เป็นเพียงการแสดงเต้นรำ แต่รวมถึงการสร้างจังหวะเสียงเหมือนนักดนตรีอีกทางหนึ่ง

ประวัติ

การเต้นแท็ปถือกำเนิดในเขตไฟว์พอยส์ในเมืองนิวยอร์กโดยเกิดจากการผสมผสานของของการเต้นรำของแอฟริกา ไอร์แลนด์ สวีเดนและอังกฤษ ทำให้เกิดการเต้นแท็ปในลักษณะของอเมริกันถือกำเนิดขึ้น และได้เป็นที่นิยมเมื่อมีการแสดงลักษณะวอเดอวิลล์ (Vaudeville) ในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น การเต้นแท็ป ยังคงเรียกว่า การเต้นแจ๊ส (jazz dance) เนื่องมาจากเพลงหลักที่ใช้ในแท็ปคือแจ๊ส

ลักษณะเฉพาะของแท็ป

รองเท้าแท็ปจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายเท้าและส้นเท้าสำหรับสร้างจังหวะ จังหวะของแท็ปปกติจะใช้ที่ 8 จังหวะ (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, หยุด, 1, 2, ...) และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจังหวะของตัวเอง แท็ปสามารถเต้นตามจังหวะของเพลง หรือขึ้นจังหวะเอกได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพลงกำกับ ท่าเต้นพื้นฐานของแท็ปได้แก่
  • แฟลป เสียงจังหวะที่ปลายเท้าสัมผัสกับพื้น 1 จังหวะ และหยุด
  • บรัช เสียงจังหวะปลายเท้า 1 จังหวะ เหมือนกับการกวาดพื้นด้วยปลายเท้า
  • ชัฟเฟิล เสียงจังหวะที่ปลายเท้า 2 จังหวะ โดยเป็นการสะบัดปลายเท้าไปและกลับ (เหมือนกับ บรัชและย้อนกลับ)
ตัวอย่างการผสมของท่าแท็ปพื้นฐาน อาจผสมได้หลายอย่างเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ



การเต้น แจ๊สแดนซ์




แจ๊สแดนซ์ได้วิวัฒนาการเข้ากับนักออกแบบท่าเต้นของบรอดเวย์ไปเป็นแบบใหม่ เรียบง่าย ตามแบบบรอดเวย์ยุคใหม่ ซึ่งมีการสอนเต้นในปัจจุบันที่เรียกว่า โมเดิร์นแจ๊ส ในขณะที่แทปแด้นซ์ยังคงมีวิถีทางในการวิวัฒนาการของตัวมันเอง นักเต้นแจ๊สแดนซ์ในยุคแรกๆที่มีชื่อเสียง เต้นโชว์ในโรงละครคือ โจ ฟริสโก้ ในช่วงปี ค.ศ.1910 นายโจได้เต้นแบบปล่อยแขนปล่อยขาให้ต่ำลงกับพื้น พร้อมกับการก้าวกระโดด และการขยับหมวกและซิการ์
แจ๊สแดนส์คือรูปแบบการเต้นทั่วไปในละครบรอดเวย์และในหนัง แจ๊สแดนส์มีความร่วมสมัยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบัลเลต์ ถึงแม้ว่า แจ๊สแดนส์จะดูว่าง่ายและสนุกเมื่อเห็นนักเต้นเต้นอยู่ แต่นักเต้นต้องรักษาหุ่นให้ดีจริงๆ และฝึกฝนถึง 6 ชั่วโมวต่อวัน การแสดงแจ๊สดั้งเดิมคือ "ออล แจ๊สและชิคาโก้"

เทคนิคของการเต้นแจ๊สแดนซ์และโมเดิร์นแดนส์มีพื้นฐานของการเต้นบัลเลต์ แบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่าทั้งสองแบบนี้จะขัดกับการเต้นแบบบัลเลต์ การเต้นแจ๊สแดนซ์ที่ดีเลิศนั้น นักเต้นต้องใช้การเต้นบัลเลต์เป็นหลัก การเคลื่อนไหวในการเต้นแจ๊สแดนซ์จะมีมากและเกินความเป็นจริง ซึ่งมักจะเป็นท่าทางโดยทั่วไปที่นักเต้นต้องการสื่อให้ผู้ดูผู้ฟัง ท่าทางจะขึ้นอยู่กับการเต้น เช่น ในการแสดง ลิฟวิ่ง วิด้า โลก้า นักเต้นอาจจะมีความสุข และแสดงท่าทีว่าพวกเขาอยู่ที่งานปาร์ตี้มีความสุขกับการเต้น มีการใช้การเต้นแจ๊สใน เอ็มทีวี นักเต้นโชว์ในลาสเวกัสก็เป็นนักเต้นแจ๊สด้วย



Copyright © 2009 DanceLover.com

วิธีการฝึกเต้น B-Boy



คำว่า B-Boying นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาของชนชาติแอฟริกัน คือ คำว่า Boioing หมายความว่า กระโด,โลดเต้น และถูกใช้ในแถบ Bronx River ในการเรียก รูปแบบการเต้นเบรกกิ้งของกลุ่มชาวบีบอย ตัว B ในคำว่า Bgirl : Bboy นั้นย่อมาจาก Break-Girl : Break-Boy (บางทีก็หมายถึง Boogie หรือ Bronx) B-Boying นั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ เบรกกิ้ง  หรือ เบรคแด๊นซ์ (อันหลังได้รับการบัญญัติโดยสื่อมวลชน)

Breaking นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Rocking มาก่อน เป็นการสะท้อนของ อิทธิพลจากชนชาวแอฟริกัน อเมริกัน หรือวัฒนธรรมชาวลาติน(เปอโตริกัน)ซึ่งมาพร้อมกับการอพยพ และ ปักฐานที่กรุงนิวยอร์กในช่วงปลายยุค60นั่นเอง "เบรกกิ้ง" เป็นการเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งท่วงท่าจากกีฬายิมนาสติก รวมถึงจากศิลปะการเคลื่อนไหวของโลกตะวันออกอีกด้วย เป็นที่คาดคิดกันว่า เบรคกิ้ง หรือเบรคแด๊นซ์นั้นมีรากฐานมาจาก คาโปเอร่า หรือ Capoeira คำว่า เบรค (Break)- -นั้นเป็นช่วงของจังหวะดนตรีที่ดุดันและเร้าใจ ในช่วงจังหวะนี้เหล่านักเต้นจะแสดงอารมณ์ด้วยท่าเต้นที่จะดึงดูดสายตาที่สุดเลยทีเดียวเรียกว่ามีอะไรก็เอามาโชว์ให้หมด Kool DJ Herc เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในการขยายช่วงจังหวะนี้ให้สนุกมากขึ้นด้วยเทิร์นเทเบิ้ลถึงสองตัว โดยเล่นแผ่นเสียงพร้อมกันทั้ง2เครื่องและใช้แผ่นเสียงเพลงเดียวกัน ใช้เทคนิคถูแผ่นต่างๆกันไปซึ่งนักเต้นสามารถจะถ่ายทอดท่าเต้นได้นากว่าเดิม ที่มักจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที ในระยะแรกๆนั้นการเต้นจะเป็นท่า upright ที่ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ top rocking เป็นท่ายืนเต้น ซึ่งมีอิทธิพลมาจาก Brooklyn uprocking, การเต้นแท็ป , lindy hop , ซัลซ่า, ท่าเต้นของ Afro Cuban, ชนพื้นเมืองแอฟริกัน และชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน และก็ยังมีท่าท๊อปร็อคแบบ Charleston ที่เรียกว่า "Charlie Rock" อิทธิพลอีกอย่างนั้นมาจาก James Brown กับผลงานเพลงยอดฮิต Popcorn (1969) และ Get on the Good Foot (1972) จากท่าเต้นที่เต็มไปด้วยพลังและรูปแบบที่โลดโผนสนุกสนาน ผู้คนจึงเริ่มที่จะเต้นในแบบ GoodFoot ในขณะ ที่การต่อสู้กันด้วยลีลาท่าเต้นเริ่มจะกลายมาเป็นประเพณี


การเต้น Rocking หรือ Breaking นั้นก็เริ่มจะแทรกซึมเข้ามาสู่วัฒนธรรมฮิปฮอป (ปะทะกันด้วยความสร้างสรรค์ไม่ใช่ด้วยอาวุธ) และมันเริ่มพัฒนาท่าเต้นที่เริ่มหลากหลายขึ้น ทั้งการย่ำเท้า การสับขา การลากเท้า และท่วงท่าที่จะใช้ปะทะกัน คือมีดีอะไรก็นำมาโชว์และเป็นที่มาของท่า footwork (floor rocking) และ freezes Floor rocking มีอิธิพลมาจากภาพยนตร์แนวต่อสู้ ในช่วงปลายยุค 70, การเต้นแท็ป (  ฟุตเวิร์กแบบชาวรัสเซีย,กาตบ, การกวาดตัวเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว, ท่าล้อเกวียน ) และท่าอื่นๆ ซึ่ง Floor rocking ได้เข้ามาเป็นท่า เต้นหลักเพิ่มขึ้น จาก toprocking ในช่วงการเต้นขึ้นลงสู่พื้น เรียกว่า การ godown หรือ การ drop ยิ่งทำได้ลื่นไหลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี  Freezes นั้นมักใช้ในเป็นท่าจบ ซึ่งมักจะใช้เป็นท่าล้อเลียนหรือท้าทายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ต่อสู้ ท่าที่ยอดฮิตก็คือ chairfreeze และ baby freeze ท่า chair freeze นั้นกลายเป็นท่าพื้นฐานของหลายๆท่าเพราะว่าระดับความยากง่ายของท่าที่ต้องใช้ความสามารถพอตัว คือ การใช้มือ แขน ข้อศอกในการพยุงตัวในขณะที่เคลื่อนไหวขาและสะโพก เป้าหมายหลักในการปะทะ หรือ Breaking Battle นั้นก็คือ เอา ชนะคู่ต่อสู้ด้วยท่าที่ยากกว่า สร้างสรรค์กว่า และรวดเร็วกว่าในทั้งจังหวะ และการFreezesซึ่งก็เป็นสิ่งที่ Breaking crews หรือกลุ่มของนักเต้นนั้น เข้ามารวมตัวกันและช่วยกันฝึกฝนและคิดค้นท่าใหม่ๆ เพื่อเอาชนะกลุ่มอื่นๆกลุ่มบีบอยที่เป็นที่รู้จักในช่วงแรกๆ คือ กลุ่ม Nigga Twins และ กลุ่มอื่นๆอย่างเช่น TheZulu Kings, The Seven Deadly Sinners, Shang-hai Brothers, The Bronx Boys, Rockwell Association, Starchild La Rock,Rock Steady Crew and the Crazy Commanders (CC step) เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการนักเต้นบีบอยยุคแรกๆ ช่วงที่การเต้นแบบนี้เริ่มพัฒนาจนมีเอกลักษณ์ น่าสนใจและสร้างนักเต้น ที่เป็นที่รู้จักนั่น ก็คือช่วงกลางยุคปี 70 ก็ได้แก่นักเต้นอย่าง Beaver, Robbie Rob(Zulu Kings), Vinnie, Off (Salsoul), Bos (Starchild La Rock), Willie Wil,Lil' Carlos (Rockwell Association), Spy, Shorty (Crazy Commanders),Jame Bond, Larry Lar, Charlie Rock (KC Crew), Spidey, Walter (Master Plan) ฯลฯกลุ่มบีบอยใหญ่ๆที่ทำใหศิลปะการปะทะกันด้วยเบรคแด๊นซ์นี้ไม่หายไป ก็คือการปะทะกันระหว่างกลุ่ม SalSoul (เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น The DiscoKids) กับกลุ่ม Zulu Kings และระหว่างกลุ่ม Starchild La Rock กับ Rockwell-Association ในขณะนั้น เบรคกิ้ง หรือ เบรคแด๊นซ์ ยังมีแค่ท่า Freezes, Footworks and Toprocks และ ยังไม่มีท่า Spins! ในช่วงปลายยุค 70 กลุ่มบีบอยรุ่นเก่าๆเริ่มที่จะถอนตัวกันไปและบีบอยรุ่นใหม่ๆก็เริ่มเข้ามาแทนที่ และ คิดค้นสร้างสรรค์ท่าและรูปแบบการเต้นใหม่ๆขึ้น เช่น การหมุนทุกๆส่วนของร่างกาย เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่นท่า  Headspin , Continues  Backspin  หรือ Windmill และอื่นๆอีกมาก ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนามาเรื่อยๆ ในช่วงยุค 80 มีกลุ่มบีบอยหลายๆกลุ่มที่โด่งดังในกรุงนิวยอร์ก ได้แก่ 'Rock Steady Crew' , 'NYC Breakers' , 'Dynamic Rockers' , 'United States Breakers' , 'Crazy Breakers' , 'Floor Lords' , 'Floor Masters' , 'Incredible Breakers' , 'Magnificent Force' ฯลฯ บีบอยที่เก่งช่วงนั้นก็เช่น Chino, Brian, German, Dr. Love (Master Mind), Flip (Scrambling Feet),Tiny (Incredible Body Mechanic) ฯลฯ.
การปะทะกันที่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เป็นการปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ NYC Breakers และระหว่าง Rock Steady Crewกับ Dynamic Rockers และในช่วงปลายยุคปี80การปะทะกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้ก็เริ่มดึงดูดสายตาเหล่าสื่อมวลชนและในปี1981 ช่องABCได้ถ่ายทอดการแสดงของ Rock Steady Crewที่ Lincoln Center และในปี1982 การปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ Dynamic Rockers ได้รับการบันทึกเป็นสารคดี ในชื่อ "Style Wars" และได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการจากช่อง PBS ซึ่งก็ทำให้ การเต้นเบรกกิ้งเดินทางไปสู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น "Roxy" คลับโรลเลอร์สเก็ตดิสโก้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น คลับฮิปฮอป.
ปี1983 ภาพยนตร์ "Flashdance" เป็นที่นิยมอย่างมาก และ มิวสิควีดีโอของMalcolm McLarens ที่ชื่อ "Buffalo Gals" ก็ได้ฉายออกทีวี Rock Steady Crew นั้นได้มีส่วนร่วมแสดงในทั้งสองเรื่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากความสำเร็จของทั้งภาพยนตร์และเพลงสำหรับคนทั่วไปแล้วการเต้น ?เบรคกิ้ง? นั้นเป็นสิ่งใหม่ ที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน และน่าตื่นตาตื่นใจ และในปีเดียวกันนั้น ภาพยนตร์เรื่อง"Wild Style" ก็ออกฉายและมีการโปรโมตภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการออกทัวร์ครั้งแรกของชาวฮิปฮอป มีทั้ง The MCs, DJs, Graffiti artists และ Breakers เดินทาง ไปโปรโมตที่ London และ Paris การออกโปรโมตครั้งนี้นั้นเป็นครั้งแรกที่โชว์เบรคกิ้ง ได้เปิดการแสดงสดในทวีปยุโรปในปี1984 ภาพยนตร์เรื่อง"Beat Street" เปิดตัวฉายและกลุ่มบีบอยที่ได้แสดงในเรื่องก็คือ Rock Steady Crew, NYC Breakers และ Magnificent Force และในช่วงการแสดงปิดท้ายงาน LA Olympic Summer Games เป็นการแสดงของบีบอย และ บีเกิร์ลกว่า 100คน! และในปีเดียว กัน "Swatch Watch NYC Fresh Tour" ก็ออกฉาย และภาพยนตร์ชื่อ "Breakin" ก็เริ่มถ่ายทำในปี1985 และต่อด้วย "Breakin 2: Electric Boogaloo" ทั้งสองเรื่อง ถ่ายทำในไนท์คลับชื่อ "Radio" (ภายหลังชื่อ "Radiotron") ใน LA ' Breakin' หรือ Breakdance' ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยและแฟชั่น เห็นได้จากโฆษณา ผลิตภัณฑ์นม,Right Guard, Burger King ฯลฯ และรายการทีวี อย่าง Fame, That's Incredible!, David Letterman ฯลฯ ทั้งนี้กลุ่มบีบอยยังได้รับเกียรติให้เป็นแขกกิตติมศักดิ์ ของเจ้าชาย ของ Bahrain และQueen Elizabeth อีกด้วย

จวบจนปัจจุบัน "บีบอย" ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป และได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็นมุมไหนของโลก การสร้างสรรค์ลีลาการเต้นที่เป็นสนุกสนานก็ยังคงดำเนินต่อไป


ความรู้พื้นฐานของการเต้นลีลาศ




ในการฝึกลีลาศจะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรกและจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้าและไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริงทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีดังนี้
องค์ประกอบสำคัญในการลีลาศ องค์ประกอบที่สำคัญในการลีลาศได้แก่ ความรู้ในเรื่องจังหวะของดนตรี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้ฝึกหัดลีลาศใหม่ ๆ ถ้าไม่สามารถเข้าใจจังหวะดนตรี หรือฟังจังหวะดนตรีไม่ออกจะทำให้การฝึกลีลาศเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถลีลาศไปตามจังหวะได้ ซึ่งนักลีลาศเรียกกันว่า “ค่อมจังหวะ”
ดนตรี (Music) มีความสำคัญมากในการลีลาศ เพราะเป็นเครื่องกำหนดการให้จังหวะ ซึ่งจะมีเสียงหนัก เสียงเบา มีวรรคตอน มีความเร็วช้าของช่วงจังหวะของเพลงที่แน่นอน ถ้าจังหวะดนตรีไม่ดีการลีลาศก็ไม่ดีตามไปด้วย จังหวะดนตรีนั้นเปรียบเสมือนเป็นหัวใจสำคัญของเพลง 

โครงสร้างของดนตรี ประกอบด้วย
1. จังหวะ (beat) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น จังหวะ 2/4 จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4
2. เสียงเน้น (Accent) หมายถึง เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง (bar) หมายถึง กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอน ปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo) หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน ฟังง่าย ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4 จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง การฝึกนับจังหวะจะนับ 1 – 2 , 1 – 2 , 1 – 2 ………… ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง
 
ทิศทางในการลีลาศ (Line of Dance)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา (Counter Clockwise) เป็นทิศทางของการลีลาศซึ่งถือเป็นสากล ดังนั้นในการลีลาศจะต้องลีลาศไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งเป็นการป้องกันมิให้ลีลาศไปชนกับคู่อื่น ทิศทางนี้เรียกว่า “แนวลีลาศ” (Line of Dance) ซึ่งนิยมเรียกกันด้วยคำย่อว่า L.O.D.
การลีลาศในแต่ละจังหวะหรือแต่ละลวดลาย (Figure) มีการเริ่มต้นและสิ้นสุดในทิศทางที่แตกต่างกัน ผู้ฝึกลีลาศจึงควรทำความเข้าใจ เกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนที่ในการลีลาศให้ถูกต้องเสียก่อนจะทำให้สามารถฝึกลีลาศได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามเทคนิคของการลีลาศ ตำแหน่งการยืนในการลีลาศ (Position of Stand) จะสัมพันธ์กับทิศทางที่ผู้ลีลาศหันหน้าไปในทิศทางต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ 8 ทิศทาง การเรียกชื่อตำแหน่งที่ยืนจะเรียกตามทิศทางที่หันหน้าไป ดังนี้
1. ยืนหันหน้าตามแนวลีลาศ (Facing Line of Dance)
2. ยืนหันหน้าย้อนแนวลีลาศ (Facing Against Line of Dance)
3. ยืนหันหน้าเข้ากลางห้องหรือกลางฟลอร์ (Facing Centre)
4. ยืนหันหน้าเข้าฝาห้อง (Facing Wall) 
5. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre)
6. ยืนหันหน้าเฉียงฝาตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall)
7. ยืนหันหน้าเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall Against Line of Dance)
8. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre Against Line of Dance)
การจัดทิศทางและการเคลื่อนไหวเท้า (Alignment and Foot Work)
การจัดทิศทาง (Alignment) การจัดทิศทางมีส่วนสัมพันธ์กับทิศทางในการลีลาศ เป็นส่วนที่อธิบายถึงทิศทางในการลีลาศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากทิศทางการลีลาศจะบอกเพียงว่า คู่ลีลาศจะเคลื่อนที่ไปทางไหน จึงต้องมีการอธิบายถึงการจัดทิศทาง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน โดยจะใช้คำอยู่ 3 คำในการจัดทิศทางคือ หันหน้า (Facing) หันหลัง (backing) และชี้เท้า (Pointing) โดยการหันหน้าหรือหันหลังจะระบุอย่างชัดเจนว่า หันหน้าเข้าฝาห้อง หันหลังเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ เป็นต้น ส่วนการชี้เท้าจะใช้เมื่อก้าวเท้าเดินไปทางด้านข้าง หรือการก้าวเท้าชี้ไปนอกทิศทางที่หันหน้าอยู่ในขณะอย่างถูกต้อง การเคลื่อนไหวเท้า (Foot Work)
การเคลื่อนไหวเท้า หมายถึง การใช้ส่วนของเท้าสัมผัสกับพื้นในแต่ละก้าว (Step) การเคลื่อนไหวเท้ามีประโยชน์ที่จะนำมาปฏิบัติเป็นความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวางเท้าให้ถูกต้องในแต่ละก้าว คำที่ใช้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเท้า มีดังนี้
1. ส้นเท้า (Hell) หมายถึง ให้ส่วนของส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อน
2. ปลายเท้า (Toe) หมายถึง ให้ส่วนของโคนนิ้วเท้าถึงปลายนิ้วเท้า สัมผัสพื้นก่อน
3. จุดหมุนของเท้า (ball of Foot) หมายถึง ให้ส่วนของฝ่าเท้าถึงโคนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นก่อน
4. ฝ่าเท้า (Whole Foot) หมายถึง ให้ทุกส่วนของเท้าสัมผัสพื้นก่อน
การฝึกเดินในการลีลาศ (General Outline of The Walk)
มีคำพูดว่า “ถ้าท่านเดินได้ ท่านก็สามารถลีลาศได้” คำพูดนี้คงจะไม่เป็นความจริงนัก เพราะท่าทางการเดินทั่ว ๆ ไปกับการเดินในการลีลาศนั้นไม่เหมือนกัน เพียงแต่มีความสัมพันธ์กันเท่านั้น กล่าวคือ การเดินในการลีลาศ มีการเคลื่อนไหวเท้าทั้งสองข้างติดต่อกันไปบนฟลอร์ลีลาศ ตามลวดลาย (Figure) ของแต่ละจังหวะ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “คนที่เดินได้ สามารถเรียนรู้และฝึกลีลาศได้” การเดินในการลีลาศแตกต่างไปจากการเดินธรรมดา คือ ขณะเดินไม่ว่าจะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตาม ปลายเท้าจะชี้ตรงไปข้างหน้าเสมอ เท้าทั้งสองข้างลากผ่านกันจนเกือบสัมผัสกัน และถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าที่ก้าวไปใหม่เสมอ ดังนั้น ท่าทางการเดินจึงนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการลีลาศที่ผู้ฝึกลีลาศใหม่ ๆ ควรให้ความสนใจ และฝึกฝนให้ถูกต้องเสียก่อน การจัดทรวดทรงหรือการวางลำตัวที่ดี เป็นบุคลิกภาพที่มีคุณค่าต่อการลีลาศ เพราะทำให้ดูแล้วสง่างามน่ามอง การที่ลีลาศได้แต่ไม่สวยงาม อาจเนื่องมาจากการละเลยหรือไม่ให้ความสนใจในการจัดทรวดทรงของตนเอง เช่น เข่างอ ไหล่ห่อ ท้องยื่น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ทรวดทรงของบุคคลนั้นอยู่ในลักษณะที่ห่อเหี่ยว ดูเฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง หรือมองดูคล้ายกับคนเหนื่อยอ่อน ดังนั้นผู้ที่มีทรวดทรงไม่ดีไม่สง่างาม จะต้องปรับปรุงแก้ไขด้วยการฝึกฝนตนเองบ่อย ๆ ดังนี้
การเดินไปข้างหน้าของผู้ชาย (The Forward Walk Gentlemen)
การจัดทรวดทรง : ยืนตัวตรงหย่อนเข่าเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับย่อเข่า ลำตัวตั้งแต่เท้าถึงศรีษะเอนไปข้างหน้าจนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้า แต่ส้นเท้าไม่ลอยพ้นพื้น ในการเอนลำตัวไปข้างหน้านั้น พยายามรักษาลำตัวตั้งแต่สะโพกขึ้นไปให้อยู่ในลักษณะตั้งตรง เมื่ออยู่ในท่าลักษณะดังกล่าวแสดงว่าพร้อมที่จะก้าวเดิน
การเคลื่อนไหวขาและเท้า : โดยทั่วไปนิยมให้ผู้ชายเริ่มต้นก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้ายก่อนในการเริ่มต้น จะเริ่มด้วยการให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขาว แล้วก้าวเท้าซ้ายโดยเคลื่อนจากสะโพกไป ข้างหน้า ขณะที่เท้าซ้ายผ่านปลายเท้าขวา ส้นเท้าขวาจะเริ่มยกขึ้นพ้นพื้น และเมื่อก้าวเท้าซ้ายออกไปเต็มที่แล้ว ส้นเท้าซ้ายและปลายเท้าขวาจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน ให้วางปลายเท้าซ้ายราบลงกับพื้นทันทีในขณะที่ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวลงบนเท้าซ้าย การก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ให้ลากปลายเท้าไปกับพื้นและเคลื่อนผ่านเท้าซ้ายเช่นเดียวกับการก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้าย การถ่ายน้ำหนักตัวขณะก้าวเท้าเดินจากตำแหน่งที่อยู่กับที่ น้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะอยู่บนปลายเท้าก่อนที่จะเริ่มก้าวเท้าออกไป ขณะกำลังก้าวเท้าเดิน น้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว และเมื่อก้าวเท้าเกินออกไปเต็มที่แล้ว น้ำหนักตัวจะถูกแบ่งอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง แล้วค่อย ๆ ถ่ายน้ำหนักตัวไปที่เท้าหน้า เมื่อวางเท้าหน้าลงเต็มเท้าน้ำหนักตัวทั้งหมดจะมาอยู่บนเท้าหน้าทันที ข้อควรระวัง : จากลักษณะท่ายืนอยู่กับที่ จะรู้สึกว่าลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าก่อนเท้า แต่ถ้าเท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก่อนลำตัว น้ำหนักตัวจะถูกส่งไปข้างหลังมากเกินไป ตลอดเวลาที่กำลังเดินอยู่ปล่อยเข่าให้สบายและหย่อนเข่าตามธรรมชาติ ขาจะตรงเมื่อก้าวเท้าไปเต็มที่แล้วแต่ไม่ เกร็งเข่า
การเดินถอยหลังของผู้หญิง (The backward Walk Lady)
การจัดทรวดทรง : ยืนตัวตรงปล่อยเข่าตามสบายแต่อย่าให้งอ วางลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อยจนน้ำหนักตัวอยู่บนส้นเท้าทั้งสองข้าง การทำเช่นนี้จะไม่ช่วยในการทรงตัวแต่ทำให้มองดูแล้วสง่างาม พยายามอย่าเอนลำตัวไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดส่วนโค้งที่ไม่สวยงามของหลังขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะเอนลำตัวไปข้างหลัง แต่ก็ต้องออกแรงต้านการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชายไว้บ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่แรงต้านทั้งตัวแต่จะใช้ส่วนล่างของร่างกายตรงสะโพก มิฉะนั้น จะเป็นการขัดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชาย และทำให้ยากต่อการก้าวเท้าออกนอกคู่ (Outside Partner) ผู้หญิงไม่ควรเอนลำตัวมาข้างหน้า หรือทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหน้าในขณะที่กำลังเดินถอยหลัง เพราะจะทำให้ผู้ชายมีแรงต้านบริเวณหน้าอก และรู้สึกลำบากในการนำผู้หญิง ทั้งยังทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าผู้หญิงตัวหนักอีกด้วย การจัดทรวดทรงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าได้พยายามฝึกการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างให้สามารถลดส้นเท้าลงเมื่อเร่งจังหวะในการลีลาศ ก็อาจทำให้สามารถจัดทรวดทรงได้ง่ายขึ้น
การเคลื่อนไหวขาและเท้า : ผู้หญิงจะเริ่มต้นเดินถอยหลังด้วยเท้าขวาก่อน เริ่มด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนเท้าซ้าย ถอยเท้าขวาไปข้างหลังโดยเคลื่อนออกจากสะโพก เมื่อถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้าย ปลายเท้าซ้ายจะค่อย ๆ ยกขึ้นพ้นพื้น เมื่อถอยเท้าขวาออกไปเต็มที่ปลายเท้าขวาและส้นเท้าซ้ายจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหลัง ลดส้นเท้าขวาลงบนพื้น ถ่ายน้ำหนักตัวมาอยู่บนเท้าขวา เท้าซ้ายถอยตามเท้าขวาไปข้างหลัง (ถอยด้วยส้นเท้า) เมื่อเท้าซ้ายถอยมาอยู่ระดับเดียวกับเท้าขวา ปลายเท้าซ้ายจึงจะสัมผัสพื้น สำหรับการเดินถอยหลังด้วยเท้าซ้าย ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเดินถอยหลังด้วยเท้าขวา การถ่ายน้ำหนักตัวในขณะที่เดินถอยหลังจากตำแหน่งที่อยู่กับที่ น้ำหนักตัวจะอยู่บนส้นเท้าก่อนเริ่มเดินถอยหลัง เมื่อก้าวเท้าเดินถอยหลังน้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว และเมื่อถอยเท้าไปข้างหลังเต็มที่แล้วน้ำหนักตัวจะอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง แล้วค่อย ๆ ถ่า

ยน้ำหนักตัวไปอยู่บนเท้าหลัง

การเต้นHip Hop


การเต้น Hip Hop

เป็นการเต้นตามจังหวะของดนตรี Hip Hop ซึ่งลักษณะที่สำคัญของดนตรีประเภทนี้จะเป็นการร้อง การพูด การแร็ป (Rap)  ประกอบกับดนตรีอีเล็คโทรนิก และเครื่องเคาะจังหวะประเภทต่างๆ (Percussions)  ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะที่เร็วปานกลางถึงเร็วมาก   ดังนั้นท่าทางของการเคลื่อนไหวจึงเป็นการเต้นที่เร็ว  มีการหยุด  การกระตุกของร่างกายในแต่ละส่วน (Isolation) หรือการ locking การย่อขาและโยกตัวตัวขึ้น-ลง (Bouncing) และการกระโดด (Hop) ไปตามจังหวะเพลง โดยผู้เต้นจะเต้นเน้นจังหวะตามจังหวะของกลองและเสียงกีตาร์เบส  มีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์  และกิริยาอาการต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราแล้วนำมาปรับเปลี่ยนเป็นท่าเต้นท่าต่างๆเพื่อความหลากหลายมากขึ้น  นอกจากนี้แล้วนักเต้น Hip Hop ยังมักนิยมนำเอาการเต้นเบรคแดนซ์ (Break Dance) มาเต้นประกอบการเต้น Hip Hop อีกด้วย
การที่การเต้นประเภท Hip Hop กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกลุ่มวัยรุ่นของไทย จึงทำให้สถาบันสอนเต้นรำหลายสถาบันในประเทศเพิ่มการเต้น Hip Hop เข้าไว้เป็นหนึ่งในวิชาที่เปิดสอนของสถาบันนั้นๆ จึงยิ่งเป็นการทำให้การเต้นประเภทนี้แพร่ขยายไปเร็วขึ้นอีก

ถึงแม้ว่าการเรียน Hip Hop จะเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ 8-9 ปี แต่กลุ่มนักเรียน Hip Hop ในประเทศไทยมักจะเริ่มตั้งแต่เด็กวัยรุ่นอายุตั้งแต่ประมาณ 12-13 ปีเป็นต้นไปจนถึงวัยคนทำงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงในงานกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน  เพื่อการแข่งขันหรือการประกวดเต้นรำต่างๆ  และเพื่อความสนุกสนาน รวมไปทั้งถือว่าเป็นการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน
ครูสอนเต้นรำที่ดีควรมีประสบการณ์ทั้งทางด้านการสอนและการแสดงค่อนข้างมาก เช่น เดียวกับการสอนการเต้น Hip -Hop ซึ่งผู้สอนควรที่จะต้องมีประสบการณ์จึงจะสามารถสอนให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การเต้น Hip Hop นอกจากจะเป็นการเต้นที่เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่มีผู้คิดค้นเอาไว้แล้ว และเป็นที่นิยมเต้นกันอย่างแพร่หลายมาสอนในชั้นเรียนแล้ว  ยังสามารถเกิดจากการคิดท่าเต้นขึ้นมาใหม่เพื่อการสอนและการแสดงอีกด้วย   ลักษณะการเรียนการสอนการเต้น  Hip Hop จึงมักจะขึ้นอยู่กับหลักการและประสบการณ์ของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  แต่ในบางสถาบันยังจะขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารสถาบันอีกประการหนึ่งด้วย
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าวิธีการเรียนการสอน Hip Hop นั้นไม่ได้มีหลักการที่แน่นอนและตายตัว และมักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  เช่นถ้าครูผู้สอนไม่สามารถเต้นท่าเบรคแดนซ์ได้ ก็มักจะสอนในท่าที่ง่ายๆหรือคิดออกแบบท่าเต้นที่ตนเองถนัดขึ้นมา ครูที่มีความสามารถในการเต้นหลายๆด้านก็จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถสอนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
อาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเต้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dancer เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและเต้นให้กับศิลปินต่างๆ

หลักและวิธีการการเต้น Hip Hop  จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่

1.การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) โดยครูผู้สอนจะนำการอบอุ่นร่างกายในทุกส่วนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ได้แก่ คอ ไหล่ ลำตัวช่วงบน (Rips) ช่วงกลางลำตัว สะโพก เข่า ขา  และเท้า โดยจะป็นการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน (Isolate)ไปในทิศทางต่างๆที่ร่างกายมนุษย์สามารถทำได้  เช่น ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง ด้านหลัง และการเคลื่อนร่างกายส่วนต่างๆเป็นวงกลม  เป็นต้น ท่าที่ใช้ในการอบอุ่นร่างร่างกายจะเป็นการฝึกท่าเต้นและการเคลื่อนไหวร่างกายในสไตล์ Hip Hop ขั้นพื้นฐานอีกด้วย โดยการนำท่าฝึกหัดต่างๆมาเต้นต่อเนื่องกัน
2.การโยกตัว (Hop) เป็นการฝึกที่เริ่มจากการงอลำตัวมาทางด้านหน้า แล้วยืดตัวขึ้น โดยทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง แล้วเริ่มงอเข่า (ย่อเข่า) แล้วยืดเข่า(ไม่จำเป็นต้องยืดเข่าสุด) ทำซ้ำหลายๆครั้งต่อเนื่องกันไปตามจังหวะ เมื่อคล่องแล้วจึงโยกตัวและย่อเข่าไปพร้อมๆกัน แล้วจึงเริ่มก้าวเท้าไปยังทิศทางต่างๆ เช่น ด้านข้างซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง เป็นต้น ต่อมาจึงเริ่มใช้ข้อศอกและแขนงอและตึงไปตามจังหวะของขา
3.การเดิน (Walking) ประกอบด้วยการก้าวสไลด์เท้า ก้าวขา และหันตัวไปในทิศทางต่างๆโดยใช้เทคนิคการย่อขา  การถ่ายน้ำหนักจากขาหนึ่งไปยังอีกขาหนึ่ง และยืดขาเพื่อให้ลำตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
4.การล็อกตัว (Locking) คือการเคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตุกแล้วหยุด  สามารถฝึกได้ทั้งการกระตุกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และการรวมกันของส่วนของร่างกายมากกว่าหนึ่งส่วนขึ้นไปประกอบกันเป็นท่าต่างๆ
5. การเต้นแบบหุ่นยนต์ (Robot) เป็นการเต้นเลียนแบบการคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยการเริ่มฝึกจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปทีละส่วน เช่นการใช้แขนยกขึ้น กระตุกเล็กน้อยแล้วหยุด สามารถทำได้ทั้งแขนเดียวขึ้นลงสลับกัน และทั้งสองแขนเคลื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นต้น โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์มักใช้ประกอบในการเต้นเพื่อโชว์ถึงความสามารถพิเศษของผู้เต้น  เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจและความหลากหลายในการแสดง เป็นต้น
6.การเต้นระบำ (Routine) เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่ฝึกมาเต้นประกอบดนตรีแบบต่อเนื่องกัน โดยผู้สอนจะค่อยๆเริ่มต่อท่าซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นการต่อท่าเซ็ท (Set) ทีละน้อย การเต้นระบำจะเป็นกลุ่มท่าที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและเรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นการฝึกทักษะขั้นสูงขึ้นและไม่นิยมใช้ท่าเดียวกันเต้นซ้ำไปมาเหมือนกับการฝึก exercise ต่างๆ  ครูผู้สอนมักออกแบบท่าทางให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียน โดยมีการพัฒนาโดยการเพิ่มจำนวนท่าเต้นให้ยาวขึ้นในแต่ละครั้งที่มีการเรียนการสอน และอาจมีการปรับเปลี่ยน ท่าให้มีความยากขึ้นโดยใช้ท่าที่ต้องใช้ทักษะและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนในชั้นเป็นสำคัญ






ที่มา: http://www.gang-y.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=229:dancing-&catid=60:dancing-trend&Itemid=106